วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

มลพิษทางเสียง

มลพิษทางเสียง คือ สภาวะที่มีการก่อให้เกิดเสียงที่มีการรบกวน อาจมาจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากมนุษย์, สัตว์ หรือเครื่องจักรต่างๆ โดยหากเกิน 85 เดซิเบล จะเป็นอันตรายต่อหู ยิ่งถ้าเกิน 90 เดซิเบลจะเป็นอันตรายต่อหูอย่างมาก ดังนั้นไม่ควรเข้าใกล้บริเวณที่มีเสียงดังเกินจะรับได้ แหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นปัญหามากที่สุดในเมือง คือ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ เรือหางยาวและรถอื่น ๆ ที่มีการดัดแปลงท่อไอเสีย
สาเหตุของมลพิษทางเสียง
1. การคมนาคม มีการใช้รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์ รถบรรทุก และเครื่องบิน เพิ่มมากขึ้น ทําให้ระดับเสียงเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน อาจจําแนกให้เห็นได้ดังนี้

*รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง (ตุ๊ก ๆ) มีระดับเสียง 35 เดซิเบล
*รถยนต์ มีระดับเสียง 60 - 25 เดซิเบล
*รถบรรทุก มีระดับเสียง 95 - 120 เดซิเบล
*รถไฟวิ่งห่าง 100 ฟุต มีระดับเสียง 60 เดซิเบล
*เครื่องบิน มีระดับเสียง 100 - 140 เดซิเบล
สํานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้กําหนดค่าระดับเสียงในย่านที่อยู่อาศัยใน เวลากลางวันและกลางคืนไว้ ไม่เกิน 60 เดซิเบลและ 55 เดซิเบลตามลําดับ สําหรับระดับเสียงที่ ประกาศโดยพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร อันเกิดจากเครื่องยนต์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ จักรยานยนต์ในสภาพปกติไม่เกิน 95 เดซิเบล เมื่อวัดระดับเสียงด้วยเครื่องวัดเสียงในระยะห่าง 7.5 เมตร โดยรอบ
2. โรงงานอุตสาหกรรม เป็นเสียงที่เกิดจากการทํางานของเครื่องจักรขนาดต่าง ๆ ซึ่งทําให้ เกิดระดับเสียงแตกต่างกันไปตั้งแต่ 60 เดซิเบล จนถึง 120 เดซิเบล แล้วแต่ขนาดแรงมาของเครื่องจักร วัสดุที่ใช้ทําฝาหรือเพดานโรงงาน รวมทั้งสภาพแวดล้อมของโรงงานด้วย
3. จากครัวเรือน เป็นเสียงที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่อง ดูดฝุ่น เครื่องขัดพื้น วิทยุ และโทรทัศน์ ทําให้เกิดระดับเสียงประมาณ 60 -70 เดซิเบล
4. เสียงรบกวนที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การโฆษณา ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และเสียง ทะเลาะ วิวาทต่าง ๆ
ผลกระทบของมลพิษทางเสียง
ข้อกําหนดขององค์การอนามัยโลก สําหรับระดับเสียงที่ปลอดภัยคือ ไม่เกิน 85 เดซิเบล เมื่อ สัมผัสวันละ 8 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดจากมลพิษของเสียง ถ้าให้สัมผัสวันละหลาย ๆ ชั่วโมงเป็นเวลา นาน ๆ ก็จะก่อให้เกิดอันตรายที่พอจะจําแนกได้ดังนี้คือ
1. ด้านจิตใจ
- ก่อให้เกิดอาการหงุดหงิด รําคาญใจ ประสาทเครียด
- ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
- ก่อให้เกิดการคลุ้มคลั่ง เสียสมาธิ
2. ด้านร่างกาย
- ทําให้หัวใจเต้นแรง อัตราการหายใจเปลี่ยนแปลง
- ทําให้เกิดกรดในกระเพาะมากกว่าปกติ เป็นโรคแผลในกระเพาะและโรคกระเพาะ อาหาร
- ทําให้ความดันโลหิตสูง
- ทําให้กล้ามเนื้อกระตุก เกิดอาการเหนื่อยหอบและแพ้
- ทําให้นอนไม่หลับ
-
กระทบต่อการได้ยิน แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
·         หูหนวกทันที เกิดขึ้นจากการที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกิน 120 เดซิเบล
·         หูอื้อชั่วคราว เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 80 เดซิเบลเอขึ้นไปในเวลาไม่นานนัก
·         หูอื้อถาวร เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีระดับความดังมากเป็นเวลานานๆ
3. ด้านการทํางาน ทําให้ประสิทธิภาพของการทํางานลดลง การติดต่อประสานงาน ล่า ช้า บางครั้งเกิดการผิดพลาดทําให้งานเสีย หรืออาจทําให้เกิดอุบัติเหตุได้
4. ด้านการสื่อสาร เสียงดังกว่าปกติอาจรบกวนต่อการสื่อสาร การรับสัญญาณ และการรับ คําสั่งต่าง ๆ อันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
5. เกิดความเสียหายต่อวัตถุ เสียงที่มีระดับสูง เช่น เสียงจากเครื่องบินชนิดเร็วกว่าเสียง ทําให้เกิดการสั่นสะเทือน บางครั้งยังมีความดันทําให้อากาศมีความดันสูงขึ้นระหว่าง 1-10 ปอนด์ต่อตา รางฟุต ทําให้วัตถุหรือสิ่งก่อสร้างบางชนิด เช่น กําแพง ฝาผนัง หลังคา และหน้าต่าง สั่นไหวได้ หน้า ต่างกระจกถูกทําลายได้
   6. ด้านสังคม กระทบต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ขาดความสง
   7. ด้านเศรษฐกิจ มีผลผลิตต่ำเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานลดลง เสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมเสียง
        8. ด้านสิ่งแวดล้อม เสียงดังมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ เช่น ทำให้สัตว์ตกใจและอพยพหนี



วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562

แนวทางการป้องกันและแก้ไข


วิธีการป้องกัน
1.หลีกเลี่ยง ไม่เข้าใกล้แหล่งกำเนิดเสียงดัง
2.ควบคุมเสียงไม่ให้เสียงดังเกินมาตรฐานที่กำหนด
3.สวมใส่อุปกรณ์ลดเสียง เนื่องจากมลพิษทางเสียงเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่ง แล้วบางคนจำเป็นต้องทำงานภายใต้เสียงที่ดัง ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ด้วยภาระการทำงาน สิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันเราได้คือ การสวมใส่อุปกรณ์ลดเสียง หรือปลั๊กอุดหู เพื่อปิดกั้นเสียงไม่ให้ไหลผ่านเข้าหูเรา โดยถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์เซฟตี้ที่จำเป็นมากสำหรับพนักงานที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้เสียงที่ดัง

วิธีการแก้ไข

เสียงดังจากรถ

-          ใช้ท่อไอเสียที่มีเครื่องระงับเสียงและได้มาตรฐาน มอก. ในกรณีรถจักรยานยนต์และรถยนต์

-          ไม่ดัดแปลงท่อไอเสีย ให้มีเสียงดัง

-          ดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ

-          ไม่ควรใช้แตรลมหรือใช้แตรโดยไม่จำเป็นขณะอยู่ในเขตพื้นที่อยู่อาศัย

-           ไม่ใช้ความเร็วสูง หรือเร่งเครื่องยนต์แรง ๆ

-          ไม่บรรทุกภาระมากเกินไป

-          ใช้ระบบการขนส่งมวลชนและรถประจำทางสาธารณะ

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562

โครงการจิตอาสา Low noise Sound good


หลักการและเหตุผล                                 
         เนื่องจากบริเวณสามย่านเป็นชุมชนเมืองจึงมียานพาหนะเป็นจำนวนมากและก่อให้เกิดเสียงรบกวนในพื้นที่นี้ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนตัว มลพิษทางเสียงนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจและกระทบไปถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นจึงได้ทำการจัดทำโครงการ Low Noise Sound Good
ขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนรู้ถึงสาเหตุการเกิดมลพิษทางเสียงนี้ว่าเกิดจากสาเหตุใดมีผลกระทบทั้งด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจของคนในชุมชน เช่น อาจทำให้การได้ยินพิการ เกิดความดันสูง และมีปัญหาการนอน เป็นต้น อีกทั้งเสนอแนะวิธีลดมลพิษทางเสียงเพื่อให้คนในชุมชนสามย่านได้ร่วมมือปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์

1)   เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่สามย่านลดมลพิษทางเสียง

2)   เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ลดการใช้ยานพาหนะ

3)   เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนใช้ระบบการขนส่งมวลชนและรถประจำทางสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟ เรือข้ามฟาก เป็นต้น

           4)  เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากท่อไอเสียรถยนต์และจักรยานยนต์

           5)  เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี
สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ

1.นางสาว จินต์จุฑา กันทาทรัพย์ 6032907223

          2.นางสาว กรพรกานต์ วิจิตรรัตนไตร 6032901423

3.นางสาว ธัญญาเรศ แสงสวัสดิ์ 6037535338

4.นายณัฐพล ชำนาญศิลป์ 6032916923

5.นางสาว ชญานิษฐ์ ชำนาญศิลป์ 6032910023

ช่วงเวลา-สถานที่ที่ทำโครงการ

วันที่ 20-27 เมษายน เวลา 12.00-13.00 น. และ 16.00-18.00 น. บริเวณสามย่าน เขตปทุมวัน

กระบวนการดำเนินโครงการ เพื่อบรรลุจุดประสงค์

1.       รวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางด้านเสียงที่เกิดจากยานพาหนะและวิธีการแก้ไข

     2.   จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการโดยแบ่งเป็น  

·         ป้ายประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงได้จากการสแกนคิวอาร์โค้ด

·         ใบปลิวข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางด้านเสียงและวิธีการลดมลพิษทางเสียง

     3.    ทำการประชาสัมพันธ์ในบริเวณชุมชนสามย่าน

     4.    ให้คนในชุมชนทำแบบประเมินหลังการทำการประชาสัมพันธ์ว่าได้รับความรู้ความเข้าใจเร่ื่องมลพิษทางเสียงและวิธีการลดมลพิษทางเสียงมากขึ้นหรือไม่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

       1.ประชาชนบริเวณสามย่าน เขตปทุมวันจำนวน 100 คน ทราบสาเหตุและปัญหาที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางเสียงและเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากมลพิษทางเสียงมากขึ้น        
       2.ประชาชนมีวิธีการป้องกันและวิธีการลดมลพิษทางเสียงย่างถูกต้องและเกิดความร่วมมือในการช่วยลดมลพิษทางเสียงจากยานพาหนะ