วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

มลพิษทางเสียง

มลพิษทางเสียง คือ สภาวะที่มีการก่อให้เกิดเสียงที่มีการรบกวน อาจมาจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากมนุษย์, สัตว์ หรือเครื่องจักรต่างๆ โดยหากเกิน 85 เดซิเบล จะเป็นอันตรายต่อหู ยิ่งถ้าเกิน 90 เดซิเบลจะเป็นอันตรายต่อหูอย่างมาก ดังนั้นไม่ควรเข้าใกล้บริเวณที่มีเสียงดังเกินจะรับได้ แหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นปัญหามากที่สุดในเมือง คือ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ เรือหางยาวและรถอื่น ๆ ที่มีการดัดแปลงท่อไอเสีย
สาเหตุของมลพิษทางเสียง
1. การคมนาคม มีการใช้รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์ รถบรรทุก และเครื่องบิน เพิ่มมากขึ้น ทําให้ระดับเสียงเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน อาจจําแนกให้เห็นได้ดังนี้

*รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง (ตุ๊ก ๆ) มีระดับเสียง 35 เดซิเบล
*รถยนต์ มีระดับเสียง 60 - 25 เดซิเบล
*รถบรรทุก มีระดับเสียง 95 - 120 เดซิเบล
*รถไฟวิ่งห่าง 100 ฟุต มีระดับเสียง 60 เดซิเบล
*เครื่องบิน มีระดับเสียง 100 - 140 เดซิเบล
สํานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้กําหนดค่าระดับเสียงในย่านที่อยู่อาศัยใน เวลากลางวันและกลางคืนไว้ ไม่เกิน 60 เดซิเบลและ 55 เดซิเบลตามลําดับ สําหรับระดับเสียงที่ ประกาศโดยพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร อันเกิดจากเครื่องยนต์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ จักรยานยนต์ในสภาพปกติไม่เกิน 95 เดซิเบล เมื่อวัดระดับเสียงด้วยเครื่องวัดเสียงในระยะห่าง 7.5 เมตร โดยรอบ
2. โรงงานอุตสาหกรรม เป็นเสียงที่เกิดจากการทํางานของเครื่องจักรขนาดต่าง ๆ ซึ่งทําให้ เกิดระดับเสียงแตกต่างกันไปตั้งแต่ 60 เดซิเบล จนถึง 120 เดซิเบล แล้วแต่ขนาดแรงมาของเครื่องจักร วัสดุที่ใช้ทําฝาหรือเพดานโรงงาน รวมทั้งสภาพแวดล้อมของโรงงานด้วย
3. จากครัวเรือน เป็นเสียงที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่อง ดูดฝุ่น เครื่องขัดพื้น วิทยุ และโทรทัศน์ ทําให้เกิดระดับเสียงประมาณ 60 -70 เดซิเบล
4. เสียงรบกวนที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การโฆษณา ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และเสียง ทะเลาะ วิวาทต่าง ๆ
ผลกระทบของมลพิษทางเสียง
ข้อกําหนดขององค์การอนามัยโลก สําหรับระดับเสียงที่ปลอดภัยคือ ไม่เกิน 85 เดซิเบล เมื่อ สัมผัสวันละ 8 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดจากมลพิษของเสียง ถ้าให้สัมผัสวันละหลาย ๆ ชั่วโมงเป็นเวลา นาน ๆ ก็จะก่อให้เกิดอันตรายที่พอจะจําแนกได้ดังนี้คือ
1. ด้านจิตใจ
- ก่อให้เกิดอาการหงุดหงิด รําคาญใจ ประสาทเครียด
- ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
- ก่อให้เกิดการคลุ้มคลั่ง เสียสมาธิ
2. ด้านร่างกาย
- ทําให้หัวใจเต้นแรง อัตราการหายใจเปลี่ยนแปลง
- ทําให้เกิดกรดในกระเพาะมากกว่าปกติ เป็นโรคแผลในกระเพาะและโรคกระเพาะ อาหาร
- ทําให้ความดันโลหิตสูง
- ทําให้กล้ามเนื้อกระตุก เกิดอาการเหนื่อยหอบและแพ้
- ทําให้นอนไม่หลับ
-
กระทบต่อการได้ยิน แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
·         หูหนวกทันที เกิดขึ้นจากการที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกิน 120 เดซิเบล
·         หูอื้อชั่วคราว เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 80 เดซิเบลเอขึ้นไปในเวลาไม่นานนัก
·         หูอื้อถาวร เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีระดับความดังมากเป็นเวลานานๆ
3. ด้านการทํางาน ทําให้ประสิทธิภาพของการทํางานลดลง การติดต่อประสานงาน ล่า ช้า บางครั้งเกิดการผิดพลาดทําให้งานเสีย หรืออาจทําให้เกิดอุบัติเหตุได้
4. ด้านการสื่อสาร เสียงดังกว่าปกติอาจรบกวนต่อการสื่อสาร การรับสัญญาณ และการรับ คําสั่งต่าง ๆ อันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
5. เกิดความเสียหายต่อวัตถุ เสียงที่มีระดับสูง เช่น เสียงจากเครื่องบินชนิดเร็วกว่าเสียง ทําให้เกิดการสั่นสะเทือน บางครั้งยังมีความดันทําให้อากาศมีความดันสูงขึ้นระหว่าง 1-10 ปอนด์ต่อตา รางฟุต ทําให้วัตถุหรือสิ่งก่อสร้างบางชนิด เช่น กําแพง ฝาผนัง หลังคา และหน้าต่าง สั่นไหวได้ หน้า ต่างกระจกถูกทําลายได้
   6. ด้านสังคม กระทบต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ขาดความสง
   7. ด้านเศรษฐกิจ มีผลผลิตต่ำเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานลดลง เสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมเสียง
        8. ด้านสิ่งแวดล้อม เสียงดังมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ เช่น ทำให้สัตว์ตกใจและอพยพหนี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น